เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาแม่นางขาว เส้นทางที่ 1 ระยะทาง 500-600 ก.ม.
จุดชมที่ 1 ไม้ตะเคียนทราย ไม้ใช้ประโยชน์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ไม้ตะเคียนทราย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูง 15-30 เมตร ลำต้นปลายตรง และมักบิดโคน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หรือรูปกรวยแหลม ๆ กิ่งอ่อนเรียบ มีขนประปราย เปลือกสีน้ำตาลแก่ แตกล่อนเป็นสะเก็ดห้อยย้อยลง เปลือกในสีเหลืองปนส้มไม่มียางซึม พบขึ้นตามป่าดิบชื้นและแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และตามเกาะต่างๆในอ่าวไทย สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร ใช้ทำเรือ เครื่องเรือน ตลอดจนใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ
จุดชมที่ 2 ผักเหมียง สวนผักกลางไพร ผักและผลไม้ป่าที่กินได้ทั่วทุกภาคของเมืองไทยมีพืชท้องถิ่นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ให้เราได้เก็บมากินเป็นอาหารได้ และ ภูมิปัญญาคนท้องถิ่นก็สามารถเลือกมาปรุงเป็นอาหารที่เหมาะสมได้ ดังเช่นในป่าแห่งนี้มี ผักเหมียง พันธุ์ไม้ป่า ที่เจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ พบได้ทั้งบริเวณเนินเขาและที่ราบในความสูงจากระดับน้ำทะเล 2 – 500 เมตร หรือสูงกว่านั้น ผักเหมียงพบมากในภาคใต้ตอนกลางฝั่งตะวันตกของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ตรัง (ฝั่งอันดามัน) ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นต้น จะสังเกตเห็นว่าผักเหมียงขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมีการปลูกแถบจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากกว่าฝั่งตะวันออก อาจเป็นเพราะปริมาณน้ำฝนชุกและต่อเนื่องในฝั่งตะวันตกจึงเหมาะสมกว่า ผักเหมียง คนใต้นิยมนำมากินเป็นผักเคียงกับขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ อาหารที่ได้รับความนิยมที่ประกอบจากผักเหลียง คือ ผักเหลียงต้มกะทิหรือแกงเลียง ผักเหมียงได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้”
จุดชมที่ 3 ไม้ขาวดำ ไม้หายาก ไม้ขาวดำเป็นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง แต่เนื้อไม้มีลักษณะพิเศษ คือ จะมีสีขาวและสีดำในต้นเดียวกัน ชาวบ้านนิยมนำมาทำกรุงนก ไม้ชนิดนี้พบในภาคใต้และจัดเป็นไม้หายากอีกชนิดหนึ่ง
จุดชมที่ 4 ไม้ยาง ไม้ใช้ประโยชน์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ไม้ยางเป็น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 - 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ สีเทาหรือเทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 40 - 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนาเรียบ สีเทาหรือเทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูสูงขึ้นมาเล็กน้อย พบขึ้นในที่ลุ่มต่ำริมห้วย ลำธาร และตามหุบเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทยในระดับความสูงของน้ำทะเลเฉลี่ยคือ 350 เมตรนอกจากจะใช้ประโยชน์ในทางก่อสร้างแล้ว ไม้ยางยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย
จุดชมที่ 5 เถาวัลย์ป่า
เถาวัลย์ป่า, Combretum Extensum Roxb พรรณไม้เลื้อยที่เป็นเถาเติบโต และปีนขึ้นไปเกาะเกี่ยว กับต้นไม้อื่น, เช่น กระไดลิง เป็นต้น.มีความแข็งแรงและแกร่งมาก เถาวัลย์หลาย ชนิด พบได้ในพื้นที่ภาคใต้ คนในท้องถิ่นใช้มันเพื่อผูกสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน บางชนิดเป็นยาสมุนไพร เถาวัลย์หากมีมากบุกเข้ายึดพื้นที่ป่า ก็จะทำลายระบบนิเวศน์และวิถีชีวิตของสัตว์ป่า ไปด้วย
จุดชมที่ 6 ไม้ตีนเป็ด
ต้นตีนเป็ดหรือเรียกว่า พญาสัตบรรณ
หรือ สัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร พบได้ทุกภาคในประเทศไทย เป็นไม้เนื้อไม้แน่นและค่อนข้างเปราะ มีเปลือกหนา เป็นเกล็ดสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีขาวอม
เหลือง ลักษณะต้นมีรูปทรงพุ่มสูงคล้ายฉัตร ใบเป็นแบบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะรูปวงรี เนื้อหนาและเหนียว มีติ่งที่ปลายใบ ผลเป็นฝัก ออกดอกเป็นช่อมีสีขาวอมเหลืองแลเขียวนิด ๆ กลีบดอกเป็นรูปวงรีมีขนภายในดอก และที่สำคัญดอกมีกลิ่นหอมฉุน
จุดชมที่ 7 วัดสวนวาง
สถานศึกษาและปฏิบัติธรรม จุดศูนย์รวมของชุมชนบ้านทุ่งรัก มีพระพุทธมุญจนาธิบดี(หลวงพ่อวาง) หน้าตักกว้าง 79 นิ้วประดิษฐาน เป็นศูนย์รวมจิตใจของบุคคลที่มากราบใหว้และเคารพศัทธา ทุกคนที่มากราบไหว้บูชา และขอพรจากองค์หลวงพ่อท่าน มักจะประสบความสำเร็จ ชีวิตมีความสุข หากปฏิบัติตามหลักความจริงของชีวิต
จุดชมที่ 8 พลับพลึงธาร (พืชหนึ่งเดียวในโลกใกล้สูญพันธุ์)
แหล่งอนุรักษ์และเพาะพันธุ์พลับพลึงธาร พืชหนึ่งเดียวในโลกที่ใกล้สูญพันธุ์ เป็นพืชน้ำที่สวยงามและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยพบได้เฉพาะที่จังหวัดระนองตอนล่างและพังงาตอนบน
|