บ้านทุ่งรัก
คำขวัญบ้านเรา
ทุ่งดอกรักงามลํ้า แดนธรรมกลางวนา ลํ้าค่าป่าชายเลน
โดดเด่นเขาแม่นางขาว ดอกขาวงามพลับพลึงธาร
สุขลํ้า..รู้รักสามัคคี
แผนที่บ้านทุ่งรัก วัดสวนวาง เครือข่ายอนุรักษ์เขาแมานางขาว(ศุนย์เรียนรู้เขาแม่นางขาว)
หมู่ที่ 6 ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี จ.พังงา
มารู้จักบ้านทุ่งรักกันเถอะ
ดินแดนที่ได้ชื่อว่า บ้านทุ่งรักในปัจจุบันนี้นั้น ตามหลักฐานโบราญคดีที่มีการค้นพบในบริเวณทุ่งทรายที่ติดชายทะเลอันดามัน คาดว่าที่แห่งนี้คงมีผู้อาศัยอยู่ก่อนแล้วส่วนหนึ่งแต่ หากเป็นการอยู่อาศัยที่ไม่ถาวร ซึ่งตามประวัติศาตร์ ทางโบราญคดีแล้ว เมืองนางย่อน หรือคุระบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ซึ่งมีหลักฐานหลายอย่างที่มีการค้นพบในเขตอำเภอคุระบุรี บริเวณพื้นที่บ้านทุ่งรักบางส่วนจึงน่าจะเป็นเส้นทางการอพยพ ของชุมชนโบราญที่มีความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองนางย่อน ทุ่งตึก เมืองตะกั่วป่า และอาณาจักรศรีวิชัย
กำเนิดบ้านทุ่งรัก
บ้านทุ่งรักเดิมนั้นไม่มีการเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านโดยตรง พื้นที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักของผู้คนในบริเวณ คุระบุรีว่า "ทุ่งดอกรัก"เนื่องจากบริเวณที่เป็นทุ่งราย มีดอกไม้ชนิดหนึ่งตระกูลดอกพุดมีลักษณะสีขาว ต้นเป็นพุ่ม ขึ้นอยู่ทั่วไปชาวบ้านเรียกว่า"ทุ่งดอกรัก"
นับย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ 40 ปี ที่ผ่านมานั้น ที่แห่งนี้ นับว่าเป็นสถานที่ ทุระกันดาน ห่างไกลความเจริญมาก เพราะการเดินทาง มาสู่บ้านทุ่งรักได้มีวิธีการเดินทางมาโดยทางเรือเท่านั้น สถานที่แห่งนี้จึงไม่มีผู้อยู่อาศัยมาก่อน (ริมฝั่งทะเลอาจมีผู้อาศัยอยู่ก่อนบ้างแล้ว)
ประมาณปี พ.ศ 2513 ได้มีบุคคลที่เริ่มต้นเข้ามาหาแหล่งทำกินแห่งใหม่ ซึ่งบุคคลกลุ่มแรกที่ได้เข้ามา ณ.ทีแห่งนี้เดินทางมาจาก อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราฎธานี ได้แก่..
1.นายชื่น จันทร์ทอง
2.นายมี ใจรักษ์
3.นายเสริม เล่าซี้
การเดินทางเข้ามาสู่ทุ่งรัก
ในเริ่มแรกนั้น เดินทางทางนํ้า ลงเรือที่ท่าคลองนางย่อน เข้าสู่คลองแม่ยาย มาขึ้นที่ท่านํ้า ซึ่งในตอนนั้นเรียกว่า "ท่าตาโรย" (ตาโรยคือบุคคลที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว มีอาชีพทำประมงอยู่บริเวณนั้น)
การบุกเบิกและจับจอง บริเวณพื้นที่แห่งนี้เดิมนั้นเป็นสถานที่ พื้นป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์เนื่องจากไม่มีผู้อยู่อาศัยมาก่อน การจับจองพื้นที่เพื่อทำการเกษตรจึงสามารถจับจองได้ตามความสามารถและต้องการ เมื่อมีการจับจองพื้นที่ตามที่ต้องการแล้วจึงได้เริ่ม ตัดแนวทางเดินเพื่อให้สามารถเดินไปมาหาสู่กันได้ในเบื้องต้น(จึงเป็นแนวในการตัดถนนหลักในปัจจุบัน)
สมาชิกเริ่มเข้ามาอยู่อาศัย
หลังจากมีการจับจองพื้นที่ตามต้องการแล้วก็เริ่มมีการชักชวนลูกหลาน และญาติมิตรเพื่อเข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำกินในบริเวณนี้สืบมา ซึ่งล้วนแล้วแต่อพยพมาจาก อำเภอเกาะสมุยทั้งสิ้น การอยู่อาศัยหรือทำมาหากินในตอนแรกนั้นเป็นไปด้วยความลำบาก ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า การเดินทางไปสู่ที่อื่นนั้น ทำได้โดยทางเรือเท่านั้น ผู้ที่มาบุกเบิกเพื่อพัฒนาในช่วงแรกจึงต้องอาศัยความขยันอดทนอย่างที่สุด พื้นพันธุ์ทุกสิ่งอย่างต้องนำมาจากบ้านเดิมทั้งสิ้น อาชีพดั้งเดิมของชุมชนนั้น ชาวบ้านส่วนมากมีอาชีพหาของป่า ตัดหวาย ทำแร่ ทำไม้ และการประมงชายฝั่ง
การพัฒนาที่ต่อเนื่อง
บ้านทุ่งรักได้รับการพัฒนาโดยประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา เริ่มจากการตัดถนน เพื่อใช้ในการสัญจร
ในปี พ.ศ 2516 ได้ร่วมมือกันสร้างโรงเรียนขึ้น เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชน สร้างอาคารด้วยไม้ระกำ มุงหลังคาด้วยใบจาก (ดูประวัติโรงเรียนได้ที่หัวข้อโรงเรียนบ้านทุ่งรัก)
ในปี พ.ศ 2523 ร่วมใจกันสร้างสำนักสฆ์สวนวางขึ้น เมื่อมีคณะพระธุดงค์จาริกธุดงค์ผ่านมา จนกลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนตลอดมา
ในปี พ.ศ 2524 จัดสร้างสถานีอนามัยของชุมชนขึ้น โดยการบริจาคที่ดิน จากนายจำรูญ ทองนุ้ย ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยประจำตำบล มีเขตรับผิดชอบพื้นที่ในเขตตำบลแม่นางขาว 3 หมู่บ้าน
การปกครองการเปลี่ยนแปลง
บ้านทุ่งรัก เดิมอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลคุระ ต่อมามีประชากรมากขึ้นจึงได้แยกเขตการปกครองออกเป็นหมู่ที่ 8 ตำบลคุระ และเมื่อ พ.ศ 2529 ได้แยกการปกครองออกจากตำบลคุระ เป็นบ้านทุ่งรัก หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา จนถึงปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศของชุมชน
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบและเชิงเขา มีอาณาเขตของหมู่บ้านดังนี้
ทิศเหนือ จดคลองนางย่อน หมู่ที่ 8 ต.คุระ
ทิศใต้ จดหมู่ที่ 7 บ้านบางแดด ต.แม่นางขาว
ทิศตะวันออก จดหมู่ที่ 4 บ้านนายทุย ต.แม่นางขาว
ทิศตะวันตก จด ต.เกาะพระทอง เป็นพื้นที่ราบป่าชายเลน
ข้อมูลประชากร
มีครัวเรือนตามบ้านเลขที่ 321 ครัวเรือน จำนวนครอบครัว 361 ครัวเรือน
ประชากรชาย คน
ประชากรหญิง คน
รวม 1,114 คน
สาธารนูประโภคของชุมชน
ถนนภายในหมู่บ้าน เป็นถนนราดยาง
สระนํ้าของหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
สะพาน/ท่อลอดในหมู่บ้าน มี 3 แห่ง
สวนสาธารณะในหมู่บ้านมี 2 แห่ง
แห่งที่ 1 จำนวน 48 ไร่
แห่งที่ 2 จำนวน 7 ไร่
กลุ่มและองค์กรสำคัญของหมู่บ้าน
กลุ่มการจัดการป่าชายเลนโดยชุมชน
กลุ่มอนุรักษ์เครือข่ายแม่นางขาว
กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
กลุ่มกองทุนสัจจะวันละบาท
ผู้นำชุมชนบ้านทุ่งรัก
นายสุชาติมิตตุลาคร (กำนันตำบลแม่นางขาว)
ผู้ชำนาญการ/ภมิปัญญาท้องถิ่น
นายชาญ ขันทอง (การจักสาน)
บุคคลสำคัญในชุมชน
พระอาจารย์บุญนพ สุทฺธสีโล ประธานสงฆ์วัดสวนวาง
นายชาญ ขันทอง
อาชีพหลักของชุมชนในปัจจุบัน
ทำสวนยางพารา
ทำสวนปาลม์นํ้ามัน
การทำประมงชายฝั่ง |